วัดบรมพุทธาราม
วัดพระบรมพุทธาราม วัดประจำราชวงศ์บ้านพลูหลวง สร้างโดยพระเพทราชา หนึ่งในสองสิ่งก่อสร้างของไทยที่มุงหลังคาด้วยกระเบื้องเคือบ ตื่นตากับอุโบสถไร้เสา เจดีย์เหลี่ยมที่ย่อมุมจนดูเผินๆ เหมือนเป็นทรงกลม และพระปรางค์องค์เล็กย่อมุมถี่สวยงามแปลกตา
เมื่อครั้งที่สมเด็จพระเพทราชายังเป็นเจ้ากรมพระคชบาล ท่านมีบ้านอยู่ในตำบลป่าตอง ภายในเขตกำแพงเมือง ระหว่างประตูชัยกับคลองฉะไกรน้อย ครั้นขึ้นครองราชย์ ทรงโปรดให้สร้างวัดขึ้นที่นิวาศสถานเดิมของท่าน ในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2239 (ปีขาล อัฐศก) และพระราชทานนามว่า ‘วัดพระบรมพุทธาราม’ เป็นวัดของสงฆ์ฝ่ายคามวาสี เจ้าอาวาสองค์แรก คือ พระญาณสมโพธิราชา และเนื่องจากสมเด็จพระเพทราชาเป็นกษัตริย์องค์ต้นๆ ของราชวงศ์บ้านพลูหลวง วัดนี้จึงนับเป็นวัดประจำราชวงศ์บ้านพลูหลวงนั่นเอง
ในพระราชพงศาวดารบันทึกเอาไว้ว่า สมเด็จพระเพทราชาโปรดให้หมื่นจันทรา ช่างทำเครื่องเคลือบที่ฝีมือดีมากในขณะนั้น ทำกระเบื้องเคลือบมุงหลังคาโบสถ์และวิหาร เป็นที่แปลกตา จนกลายเป็นสัญลักษณ์ของวัด ชาวบ้านจึงเรียกขานกันว่า ‘วัดกระเบื้องเคลือบ’
ทั้งนี้กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ให้ความเห็นเอาไว้ว่าอาคารในสมัยนั้นโดยมากมุงหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผา มีอาคารเพียง 2 แห่งในประเทศไทยที่มุงด้วยกระเบื้องเคลือบ ได้แก่ พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญปราสาท เมืองลพบุรี และที่วัดบรมพุทธารามแห่งนี้
ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้ทำการบูรณะวัดขึ้นมาอีกครั้ง อีกทั้งยังโปรดให้ทำบานประตูประดับมุกติดพระอุโบสถนปี พ.ศ. 2294 อีกด้วย ในสมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 3 เกิดไฟไหม้ที่วัดบรมพุทธาราม พระธรรมราชา (คุ้ม) จึงมีการลำเลียงประตูที่ยังเหลืออยู่ออกมาไว้ที่วัดศาลาปูน พระนครศรีอยุธยาเพื่อทำการฐุรณะ จากนั้นทำไปไว้ในสถานที่ต่างๆ 3 แห่งด้วยกัน คือ
- หอมณเฑียรธรรม ประตูหน้า ลายกนกเปลว ออกช่อเป็นสัตว์ป่าหิมพานต์ ท้าวเวชสุวรรณ์ พระพตหมทรงหงส์ พระอินทร์ทรงช้างสามเศียร และนารายณ์ทรงสุบรรณ เป็นประตูบานที่พระเจ้าอยู่หะวบรมโกศทรงสร้างขึ้นคู่กับประตูมุกมณฑปพระพุทธบาทสระบุรี เดิมประตูบานนี้ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 7 พ.ศ. 2475 สมเด็จกรมพระยรดำรงราชานุภาพ โปรดฯ ให้นำมาเก็บไว้ที่หอมณเฑียรธรรม ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทว่าปัจจุบันได้ถอดเก็บในพิพิทธภัณฑ์แล้ว
- วัดเบญจมบพิตร เป็นประตูหน้าบานที่อยู่คู่กับบานแรก ไม่ปรากฎว่าใครเป็นผู้นำมาไว้ที่นี่
- พิพิทธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร ก่อนหน้านี้มีผู้ลักลอบขโมยบานประตูฝังมุกของวัดบรมพุทธารามไปทำเป็นตู้ใส่หนังสือ ลวดลายของประตูบานนี้เป็นลายกนกหางกินร มีสัตว์หิมพานต์ออกจากช่อ เช่น คชสีห์ ราชสีห์ และหนุมาน สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตทรงได้ตู้หลังนี้มา ตัวตู้ทำจากบานประตูหนึ่งคู่ ตัดเป็นฝา 3 ด้าน บานประตู 2 บาน พระองค์ท่านประทานตู้หลังนี้ให้กับพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร
เมื่อปี พ.ศ. 2484 กรมศิลปากรได้ประกาศให้วัดบรมพุทธาวาสเป็นโบราณสถาน หลังจากที่เข้าขุดแต่ง พบเศษกระเบื้องเคลือบสีเหลืองแกมเขียว ลวดลายครุฑ เทพพนม และหน้าสิงห์ แสดงว่าหลังคาวัดมุงด้วยกระเบื้องเคลือบจริงตามพงศาวดาร
สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด
- พระอุโบสถ พระอุโบสถของวัดบรมพุทธาราม ยังรงมีผนังทั้ง 4 ด้าน ช่อประตูและหน้าต่างประดับซุ้มลายปูนปั้น จุดเด่นของอะโบสถ คือ ใช้ผนัง 4 ด้านรองรับหลังคา ภายในพระอุโบสถจึงไม่มีเสาแม้แต่ต้นเดียว
- พระปรางค์ประธาน ปรางค์ประธานของวัดมีขนาดเล็ก ทรงชะลูด อยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม 12 ผนังองค์ปรางค์ข่อมุม 28 (ย่อมุมถี่) สวยงามแปลกตา ฐานประทักษิณแอ่นโค้งตามแบบศิลปะอยุธยาตอนปลาย
- เจดีย์ องค์เจดีย์เป็นศิลปะอยุธยาตอนปลายที่นิยมย่อมุมเล็กๆ โดยองค์เจดีย์เป็นเจดีย์ 8 เหลี่ยม ย่อมุมขาสิงห์ 8 ชุด จนดธูเผินๆ เหมือนเป็นเจดีย์ผนังกลม องค์เจดีย์อยู่บนฐานประทักษิณย่อมุม 12 นับเป็นเจดีย์ที่งามแปลกตา
- สะพานโบราณ หน้าวัดมีสะพานโบราณ เรียกกันว่าสะพานบ้านดินสอ สำหรับข้ามคลองฉะไกรน้อย ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก แม้ทุกวันนี้บริเวณดังกล่าวจะกลายเป็นคลองปิด แต่ก็มีสะพานเป็นเครื่องยืนยันกรรเป็นเส้นทางสัญจรหลักหน้าวัดนั่นเอง
ค่าใช้จ่าย
ฟรี
เวลาทำการ
เปิดทุกวัน 08.30 -16.00 น.
วิธีการเดินทาง
จากเทศบาลนคร พระนครศรีอยุทธยา ใช้ถนนเทศบาลเมืองอโยธยา มาเจดีย์วัดสามปลื้ม ออกถนนอยุธยา – อ่างทอง เมื่อสุดมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา บริเวณที่ถนนตัดกับถนนศรีสรรเพชญ์ เลี้ยวซ้าย วัดจะอยู่ทางซ้ายมือ