หมู่บ้านโปรตุเกส: หมู่บ้านของชาวตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับอยุธยา จนได้รับพระราชทานที่ดินให้สร้างหมู่บ้าน เยี่ยมชมโบสถ์เซนต์โดมินิค โบสถ์คาทิลิคแห่งแรกในประเทศไทย และอาคารจัดแสดงการขุดค้นสุสานที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากมูลนิธิของโปรตุเกสกว่า 174,000 ดอลล่าร์สหรัฐ
หลังจากที่โปรตุเกสตีมะละกาสำเร็จและทราบว่ามะละกาเคยเป็นเมืองขึ้นของอยุธยา อัลฟองโซ เดอ อัลบูเคอร์ก ผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสประจำทวีปเอเชียได้ส่งเอกอัครราชทูต ดูอาร์เต้ เฟอร์นันเดส มาเจริญสัมพันธไมตรีกับอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (ปี พ.ศ. 2504) ชาวโปรตุเกสนับเป็นชาวตะวันตกชาติแรกที่เข้ามามีความสัมพันธ์อันดีกับอยุธยา ตอนนั้นพระราชพงศาวดารฉบับตุรแปงบันทึกไว้ว่ามีชาวโปรตุเกสเข้ามาในอยุธยาประมาณ 130 คน เป็นทหาร 120 คน พอดีเกิดสงครามระหว่างอยุธยากับเชียงใหม่ขึ้นในสมัยพระไชยราชา ทหารโปรตุเกสก็เข้าร่วมรบกับอยุธยาจนชนะศึก พระไชยราชาจึงพระราชทานที่ดินให้สร้างหมู่บ้านโปรตุเกสขึ้นในปี พ.ศ. 2088 ชาวโปรตุเกสที่อยู่ในหมู่บ้านก่อนเสียกรุงครั้งที่ 2 มีจำนวนประมาณ 3,000 – 4,000 คน โดยชาวโปรตุเกสที่รับราชการและมีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์อยุธยา เช่น
สมุหนายกในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นผู้ถวายคำแนะนำให้สมเด็จพระนารายณ์ส่งทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศสในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 จนเกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างทั้งสองประเทศ
นางต้นเครื่องหวานผู้นำขนม Fios de Ovos ของโปรตุเกสมาดัดแปลงเป็นขนมฝอยทอง
หลังจากการเสียกรุงครั้งที่ 2 หมู่บ้านโปรตุเกสถูกดินทับถมจนกลายเป็นเพียงเนินดิน กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเนินดินดังกล่าวเป็นโบราณสถานหมู่บ้านโปรตุเกสตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 แต่ไม่มีการขุดค้น กระทั่งเอกอัครราชทูตโปรตุเกส ฯพณฯ เมลู โกเวียได้ยื่นหนังสือต่อรัฐบาลไทยขอเข้าทำการขุดค้นโบสถ์ของโปรตุเกสในเนินดินดังกล่าว รัฐบาลจึงมอบหมายให้กรมศิลปากรทำการขุดค้นหมู่บ้านทั้งหมู่บ้านในปี พ.ศ. 2527 โดยมีเอกอัครราชทูตโปรตุเกสเข้าเยี่ยมชมการขุดเป็นครั้งคราว หมู่บ้านโปรตุเกสจึงอวดโฉมขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง
สิ่งที่น่าสนใจภายในหมู่บ้าน
ในสมัยอยุธยาสถานที่แห่งนี้มีชื่อว่าโบสถ์เซนต์โดมินิค เป็นโบสถ์คาทอลิคคณะโดมินิกันแห่งแรกของประเทศไทย สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2083 ส่วนหน้าของโบสถ์เป็นสุสาน ตรงกลางเป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนา บริเวณโดยรอบเป็นที่อยู่อาศัย ดังนั้นโบสถ์จึงอยู่ใจกลางหมู่บ้านนั่นเอง โดยโบสถ์ที่เห็นอยู่ในปัจจุบันจำลองมาจากซากโบสถ์เก่าได้อย่างงดงามลงตัว
บริเวณนี้เป็นสุสานที่มีโครงกระดูกจริงอยู่ แต่ทำโรงเรือนครอบทับ มีทางเดินยกสูงรอบสุสาน ให้นักท่องเที่ยวได้รับบรรยากาศคล้ายเดินอยู่ในเขตขุดค้น ภายในอาคารมีจอโทรทัศน์เล่าประวัติสุสาน การเรียงตัวของศพและความหมายของการจัดท่านอนของคนธรรมดาและพระนิกายคาทอลิค สุสานแห่งนี้กรมศิลปากรได้รับเงินสนับสนุนการขุดค้นจำนวน 80,000 ดอลล่าร์สหรัฐจากมูลนิธิกุลเบงเกียน ของประเทศโปรตุเกส ในปี พ.ศ. 2527 และในปี พ.ศ. 2531 มูลนิธิแบงเกียงก็ให้เงินสนับสนุนการปรับแต่งสุสานและศาสนสถานอีก 94,090 ดอลล่าร์สหรัฐ
บ่อขนาดครึ่งเมตร ก้นลึกคล้ายกระทะขนาดใหญ่ ที่อยู่ในหมู่บ้านโปรตุเกส คือ บ่อหมักสบู่ที่ใครไปใครมาก็ต้องถ่ายรูปกลับไปเป็นที่ระลึก เพราะบ่อหมักสบู่เป็นหลักฐานยืนยันว่าไทยรับอารยธรรมการใช้สบู่มาจากชาวโปรตุเกส โดยชาวอยุธยาสมัยก่อนต้องซื้อสบู่จากหมู่บ้านโปรตุเกสหรือไม่ก็ซื้อสบู่นำเข้าจากเรือสินค้าที่เดินทางกลับมาจากยุโรป
จากหมู่บ้านโปรตุเกส คุณสามารถลงเรือข้ามฟากไปหมู่บ้านญี่ปุ่นที่อยู่ฝั่งตรงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาได้ โดยท่าน้ำหมู่บ้านโปรตุเกส มูลนิธิเบงเกียงได้ให้เงินสนับสนุนการสร้างท่าน้ำรวมกับเงินสนับสนุนการสร้างอาคารจัดแสดงหลุมขุดค้นก้อนที่สาม เป็นเงินอีก 2,750,000 บาท